ข้อมูลสภาพทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

ตำบลนาหว้ามีพื้นที่รวม ๗๕.๔๖ ตร.กม.หรือคิดเป็นเนื้อที่ ๔๕,๘๗๕ ไร่โดยประมาณ มีจำนวนประชากรสำรวจ ณ. เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมทั้งสิ้น ๖,๓๔๖ คน จาก ๑,๓๖๔ ครัวเรือน แยกเป็นประชากรชาย ๓,๑๖๙ คน หญิง ๓,๑๗๗ คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ  ติดกับ ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ทิศใต้  ติดกับ  ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก  ติดกับ  ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก  ติดกับ  ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนาหว้าเป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่บางส่วนที่น้ำท่วมถึงในช่วงฤดูฝนในบริเวณที่ลำน้ำอูนไหลผ่านแต่ไม่เป็นอุทกภัยรุนแรง ลักษณะโดยทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการกษตรอย่างเพียงพอ

สภาพภูมิกากาศ

ลักษณะอากาศของตำบลนาหว้ามีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที ๓๕-๓๙.๙ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ ๔๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ ๑๕ องศาเซลเซียส ฤดูกาลแบ่งได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

 

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางปีที่สภาพอากาศแปรปรวนอาจมีอากาศเย็นเฉียบพลัน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรือมีลูกเห็บตกเรียกว่า “พายุฤดูร้อน” ทำความเสียหายให้แก่ประชาชนในวงกว้าง ปรกติแล้วช่วงอากาศร้อนจะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๕ องศาเซลเซียส เฉพาะวันที่ร้อนจัดในบางปีอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
 ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม มีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นบางปีในช่วงเดือนกรกฎาคมที่อาจเกิดเหตุการณ์ “ฝนทิ้งช่วง” นานประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ หรืออาจยาวนานกว่านั้น รวมถึงอาจมีฝนน้อยเป็นเวลานานนับเดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ประมาณ ๙๐๐ มิลลิเมตร
 ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนไปเป็นฤดูหนาว อากาศจะแปรปรวนไม่แน่นอน อากาศจะเริ่มเย็นลงแต่อาจจะยังมีฝนฟ้าคะนองอยู่บ้าง ช่วงปีที่มีอากาศหนาวที่สุดอุณภูมิต่ำสุดวัดได้ ๑๕ องศา

ลักษณะและความเหมาะสมของดิน

ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๗๕ เป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 15 เป็นดินลูกรัง และร้อยละ ๑๐ เป็นดินเหนียว ลุกษณะโดยรวมจึงเหมาะสมต่อการใช้ที่ดินเพื่อการทำนาปลูกข้าว

ลักษณะอาชีพ

ราษฎรส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๗๐ ของประชากรในตำบล ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป การทำนาปลูกข้าวเป็นเกษตรกรรมหลักรองลงมาเป็นการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมรายได้ยามว่างเว้นจากการทำนา

ทรัพยากรและการท่องเที่ยว

ตำบลนาหว้ามีวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงสถานที่น่าสนใจให้มาเยือน เช่น วัดพระธาตุประสิทธิ์ งานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวญ้อ เป็นต้น

การเมืองการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศจัดตั้งลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ แบ่งเขตการปกครองเป็น 10 หมู่ สามารถมีผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้หมู่ละ 2 คนรวมเป็น 20 คน จาก 10 เขตเลือกตั้ง
ข้อมูลสำรวจ ณ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตำบลนาหว้ามีประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๓๔๖ คน แยกเป็นชาย ๓,๑๖๙ คน หญิง ๓,๑๗๗ คน ดังนี้
หมู่ที่ ชื่อบ้าน หลังคาเรือน ประชากรรวม ชาย หญิง ชื่อผู้ใหญ่บ้าน
บ้านนาพระ ๗๘ ๓๙๗ ๒๑๐ ๑๘๗ นายจำลอง  อินอุเทน
โทร.084-6956824/061-1505473
บ้านตาลน้อย ๒๐๖ ๘๗๔ ๔๔๑ ๔๓๓ นายพรชัย อุตมะ
โทร.061-9970619/082-1261725
บ้านตาล ๒๐๐ ๘๒๒ ๓๙๘ ๔๒๔ นายบุญเพ็ง วงษาเนาว์
โทร.094-4752812
บ้านตาล ๑๓๕ ๔๘๕ ๒๑๘ ๒๖๗ นายพรชัย วงษาเนาว์
โทร.080-9036353
๑๐ บ้านหนองบัว ๒๔๘ ๙๕๘ ๔๕๘ ๕๐๐ นายละเอียด  ประมูล
โทร.084-3849990
๑๑ บ้านอูนยางคำ ๑๒๕ ๕๘๕ ๒๗๘ ๓๐๗ นายแหลมสิงห์ ประกึ่ง
โทร.095-8020601
๑๒ บ้านอูนยางคำ ๑๔๙ ๗๑๐ ๓๓๔ ๓๗๖ นายไชยวัน ประกิ่ง
โทร.082-5074211
๑๓ บ้านอูนยางคำ ๑๑๘ ๕๔๓ ๒๘๒ ๒๖๑ นายสำราญ ไขยหมื่น
โทร.098-1539631
๑๔ บ้านโนนห้วยแคน ๔๔ ๒๒๙ ๑๒๑ ๑๐๘ นายมิ่ง ชาแสน
โทร.098-4368792
๑๕ บ้านตาล ๑๒๐ ๕๖๓ ๒๕๗ ๓๐๖ นางสาวคำแพง น้อยนาง
โทร.089-3949203
รวม ๑,๔๒๓ ๖,๓๔๖  ๓,๑๖๙ ๓,๑๗๗

ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่

หมู่ที่ ชื่อบ้าน ชาย หญิง รวม หลังคาเรือน พื้นที (ตร.กม.) ทีชุมชน (ตร.กม.) ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
บ้านนาพระ ๒๑๐ ๑๘๗ ๓๙๗ ๗๘ ๐.๘๐๐ ๔๙๖
บ้านตาล ๔๔๑ ๔๓๓ ๘๗๔ ๒๐๖ ๐.๗๔๔ ๑,๑๗๔
บ้านตาล ๓๙๘ ๔๒๔ ๘๒๒ ๒๐๐ ๐.๘๙๐ ๙๒๓
บ้านตาล ๒๑๘ ๒๖๗ ๔๘๕ ๑๓๕ ๐.๙๙๘ ๔๘๕
๑๐ บ้านหนองบัว ๔๕๘ ๕๐๐ ๙๕๘ ๒๔๘ ๑.๖๓๗ ๕๘๖
๑๑ บ้านอูนยางคำ ๕๘๕ ๒๗๘ ๓๐๗ ๑๒๕ ๑.๓๗๐ ๒๒๔
๑๒ บ้านอูนยางคำ ๓๓๔ ๓๗๖ ๗๑๐ ๑๔๙ ๑.๓๔๗ ๕๒๗
๑๓ บ้านอูนยางคำ ๒๘๒ ๒๖๑ ๕๔๓ ๑๑๘ ๓.๙๓๐ ๑๓๘
๑๔ บ้านโนนห้วยแคน ๑๒๑ ๑๐๘ ๒๒๙ ๔๔ ๑.๔๓๔ ๑๖๐
๑๕ บ้านตาล ๒๕๗ ๓๐๖ ๕๖๓ ๑๒๐ ๐.๕๓๑ ๑,๐๖๐
รวม ๓,๑๖๙ ๓,๑๗๗ ๖,๓๔๖ ๑,๔๒๓ ๑๓.๖๘๑ ๔๖๔
หมายเหตุ 1. จำนวนพื้นที่จากข้อมูลภูมิสารสนเทศตำบล
2. ความหนาแน่น = จำนวนประชากร/จำนวนพื้นที่ชุมชน (ตร.กม.)

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ช่วงวัย ช่วงอายุ รวม เพศชาย เพศหญิง
วัยเด็ก ต่ำกว่า ๖ ปี ๔๕๗ คน ๒๓๖ คน ๒๒๑ คน
วัยรุ่น ระหว่าง ๖ – ๑๔ ปี ๘๖๕ คน ๔๔๒ คน ๔๒๓ คน
เยาวชน ระหว่าง ๑๔ – ๑๘ ปี ๓๐๐ คน ๑๕๘ คน ๑๔๒ คน
วัยทำงาน (ช่วงต้น) ระหว่าง ๑๘ – ๔๙ ปี ๓,๒๓๒ คน ๑,๖๒๗ คน ๑,๖๐๕ คน
วัยทำงาน (ช่วงปลาย) ระหว่าง ๔๙ – ๖๐ ปี ๗๔๒ คน ๓๖๕ คน ๓๗๗ คน
ผู้สูงอายุ มากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป   ๔๓๔ คน ๒๐๘ คน ๒๒๗ คน
รวมทั้งสิ้น ๖,๐๓๙ คน ๓,๐๓๖ คน ๓,๐๐๓ คน
หมายเหตุ เฉพาะประชากรที่มีสัญชาติไทย

การศึกษา

ระดับ ชื่อสถานศึกษา นักเรียน หมายเหตุ
 ประถมศึกษา  โรงเรียนบ้านตาล (ราษฎร์อุทิศ) ๒๓๕ คน
 โรงเรียนบ้านอูนยางคำ ๑๗๗ คน
 โรงเรียนบ้านหนองบัว ๙๕ คน
 โรงเรียนบ้านนาพระโนนห้วยแคน ๙๑ คน
 ก่อนวัยเรียน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ ๒๕ คน
 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัว ๒๕ คน
 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาพระ ๒๓ คน
 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาลใหญ่ ๒๕ คน
 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาลน้อย ๓๒ คน

ศาสนา

ศาสนา ประเภท ชื่อศาสนสถาน จำนวนอาสนะสงฆ์ สามเณร หมายเหตุ
พุทธ วัด  วัดศรีมงคล ๔ รูป ๑๒
 วัดป่าตาลใหญ่ ๖ รูป
 วัดแสงอุทัยศิริพัฒนาราม ๔ รูป
 วัดบ้านนาพระ  –
 วัดบ้านหนองบัว ๔ รูป
 วัดโพธิ์ชัย ๒ รูป
 วัดป่าโนนรัง  ๓ รูป
สำนักสงฆ์  สำนักสงฆ์บ้านหนองบัว ๑ รูป
 สำนักสงฆ์หนองสโน ๑ รูป
รวมทั้งสิ้น ๒๕ รูป ๑๙

วัฒนธรรม ประเพณี

ประเพณีสรงน้ำพระวันสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ช่วงเดือนเมาายนของทุกปี
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
บุญประเพณีวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา ช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุปปี
ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

ภาษาถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภาษาถิ่น นอกจากภาษาอีสานที่ใช้กันทั่วไปแล้ว จากที่มีชนดั้งเดิมของเป็นชนชาวญ้อ จึงยังมีการใช้ “ภาษาญ้อ” กันอยู่เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งรากเหง้าของชาติพันธ์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการรวมตัวกันตั้งกลุ่มเครื่องจักสานสำหรับใช้ในครัวเรือน วิธีการทอผ้าเลี้ยงไหม และการทอเสื่อจากต้นกก เพื่ออนุรักษมรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้สู่รุ่นต่อๆไป

ข้อมูลการคมนาคมและการขนส่ง

มีหลวงแผ่นดินหมายเลข 2185 ที่เริ่มต้นจากอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ลากผ่านพื้นที่ตำบลนาหว้าไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม เป็นเส้นทางหลักสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรกับภายนอกพื้นที่

นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถลำเลียงขนส่งคนและสิ่งสัมภาระได้  ดังนี้

  • เส้นทางเดินรถโดยสาร สายกรุงเทพฯ – ศรีสงคราม(ผ่านพื้นที่ อบต.นาหว้า) – บ้านแพง
  • เส้นทางเดินรถโดยสาร สายบ้านแพง – ศรีสงคราม(ผ่านตำบลนาหว้า) – สกลนคร
  • เส้นทางเดินรถโดยสาร สายนาหว้า – ศรีสงคราม(ผ่านตำบลนาหว้า) – นครพนม

ข้อมูลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

ถนนและเส้นทางสัญจร ร้อยละ ๗๐ ของถนนและเส้นทางสัญจรในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่เหลืออีกร้อยละ ๓๐ เป็นถนนลูกรังและถนนดินบดอัด ดังนี้
หมู้ที่ บ้าน ระยะทางรวมของถนนคอนกรีต จำนวนถนนลูกรัง/ถนนดิน ระยะทางรวมของถนนลูกรัง/ถนนดิน
 บ้านนาพระ ๐.๘๒ กม. ๑๑ สาย ๒๐.๔๐ กม.
 บ้านตาล ๒.๐๗ กม. ๘ สาย ๗.๑๓ กม.
 บ้านตาล ๑.๕๕ กม. ๕ สาย ๔.๓๑ กม.
 บ้านตาล ๑.๙๑ กม. ๘ สาย ๑๒.๑๕ กม.
๑๐  บ้านหนองบัว ๓.๒๑ กม. ๗ สาย ๙.๐๐ กม.
๑๑  บ้านอูนยางคำ ๑.๒๖ กม. ๖ สาย ๑๕.๕๐ กม.
๑๒  บ้านอูนยางคำ ๑.๒๓ กม. ๘ สาย ๑๕.๑๕ กม.
๑๓  บ้านอูนยางคำ ๐.๖๕ กม. ๗ สาย ๒๐.๐๐ กม.
๑๔  บ้านโนนห้วยแคน ๑.๒๔ กม. ๕ สาย ๖.๙๐ กม.
๑๕  บ้านตาล ๑.๓๓ กม. ๑ สาย ๐.๒๕ กม.
ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง การขยายเขตติดตั้งระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าถึงได้ครบทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าร้อยละ ๙๑ (หรือจำนวน ๑,๒๐๗ หลังคาเรือน)ของจำนวนรัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้ามีไฟฟ้าใช้ ที่เหลืออีกร้อยละ ๙ เป็นครัวเรือนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน ระบบสายส่งกระแสไฟฟ้ายังไปไม่ถึง มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธาณะจำนวน ๗๕ จุดบนถนนทุกสายและครอบคุมพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆในชุมชน เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจร
ระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มีการติดตั้งระบบประปาชุมชน(โดยการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดนครพนม)เพื่อให้บริการน้ำสำหรับใช้อุปโภคและบริโภค จากการสำรวจพบว่าร้อยละ ๓๐ (หรือจำนวน ๓๔๒ หลังคาเรือน) มีน้ำประปาใช้ตลอดปี (จำหน่ายน้ำประปาประมาณ ๕๐๐-๕๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน)
ระบบสื่อสารสาธารณะ สามารถใช้โทรศัพท์พื้นฐานได้ในบางพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
การไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์เพื่อการสื่อสารหรือการขนส่งพัสดุภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อำเภอนาหว้า ห่างไปทางทิศใต้ ๒ กม.โดยประมาณ
การสาธารณสุข มีแพทย์ประจำตำบล มีโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ จำนวน 1 แห่งอยู่ห่างออก ๒ กิโลเมตรไปทางทิศใต้

ข้อมูลแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

แหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ ประกอบด้วย

  • ลำน้ำอูน 1 สาย

แหล่งน้ำผิวดินที่ขุดสร้างขึ้น ประกอบด้วย

  • ทำนบ         รวม   – แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น      รวม   – แห่ง
  • บ่อโยก        รวม   – แห่ง
  • บ่อบาดาล    รวม   – แห่ง

ข้อมูลการพาณิชย์

จำแนกตามประเภทของการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบการได้ ดังนี้
ประเภท รายการ จำนวน (แห่ง)
การให้บริการ  ร้านอาหาร
 โรงแรม
 โรงภาพยนต์
 สถานีขนส่ง/สถานีรอรับผู้โดยสาร
 สถานีบริการน้ำมัน/ปั๊มหลอด
 ธนาคาร
การพาณิชย์  ร้านสะดวกซื้อ
 ร้านค้าทั่วไป ๔๗
 ร้านอินเตอร์เน็ต/ร้านเกมส์
 ตลาดสด
 ร้านซ่อมทั่วไป
 อู่ซ่อมรถยนตร์/จักรยานยนต์

ข้อมูลกลุ่มอาชีพ

จำแนกตามประเภทของการยื่นขอจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพได้ ดังนี้
  • กลุ่มผลิตปุ๋ย
  • กลุ่มผ้าไหม

ข้อมูลสินค้าเกษตร

สินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดประกอบด้วย ข้าวเปลือก อ้อย และผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์
สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพประกอบด้วย ผ้าไหม ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน และเสื่อทอมือ

mungmee

Share: